งานทาสีกันซึมดาดฟ้า
งานทาสีกันซึมดาดฟ้าคืออะไร
ดาดฟ้าเป็นอีกหนึ่งจุดของอาคารที่มักก่อให้เกิดปัญหาน้ำรั่วซึมลงด้านล่าง เพราะเป็นพื้นผิวที่สัมผัสแดด ฝน สภาพอากาศโดยตรง เมื่อเกิดการผุ กร่อน แตกร้าว จะทำให้เกิดปัญหาน้ำรั่วซึมไปยังชั้นล่าง และลามไปยังจุดต่าง ๆ ของอาคาร หากดาดฟ้าถูกสร้างขึ้นมาผิดวิธี เช่น มีความลาดเอียงที่ไม่เหมาะสม ก็จะทำให้เกิดแอ่งน้ำขัง ตะไคร่ การผุกร่อนหลุดร่อน ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของตัวอาคารและอีกหนึ่งสาเหตุสำคํญคือ สีกันซึมเสื่อมสภาพจากอายุการใช้งานที่ยาวนาน ก็สามารถส่งผลเสียทำให้เกิดรอยแตกร้าว ทำให้น้ำสามารถแทรกซึมเข้าคอนกรีตตามรอยแตกร้าวได้อย่างง่ายดายจนเกิดการรั่วซึมมีความเสียหาย
ทำไมต้องทาสีกันซึม
หลายๆอาคารที่ได้มีการซ่อมแซมรอยแตกร้าวผนังด้านนอกอาคาร มีการยิง PU หรือ Silicone Sealant ขอบหน้าต่างแล้ว แต่ยังคงมีการรั่วซึมเข้ามาอยู่เรื่อย ๆ นั้น โดยส่วนมากยังมีสาเหตุ หรือ ต้นเหตุของปัญหาการรั่วซึมมาจากดาดฟ้าของอาคารที่มีแอ่งน้ำขัง และพื้นดาดฟ้าเกิดการแตกร้าว นอกจากการซ่อมแซมที่ต้องทำแล้ว การทาสีกันซึมดาดฟ้าจะสามารถช่วยปกปิดรอยแตกร้าว และป้องกันการรั่วซึมที่ลามลงไปด้านล่างอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การทาสีกันซึมดาดฟ้า มีประโยชน์อย่างไร
- ปกป้องดาดฟ้าและโครงสร้างตัวอาคารจาก แดด ฝน สภาพภูมิอากาศต่างๆ
- ลดปัญหาน้ำรั่วซึมเข้าตัวอาคาร
- ปกปิดรอยแตกร้าว
- ปกปิดรอยดำ คราบเชื้อรา
- ช่วยสะท้อนความร้อนลดอุณหภูมิของตัวอาคาร
ขั้นตอนการทาสีกันซึมดาดฟ้าบนอาคาร
ทาสีกันซึมดาดฟ้า:
หลังจากทำความสะอาดผิวอาคารเรียบร้อยแล้ว ให้จะทาสีกันซึมดาดฟ้าลงบนผิวอาคารตามคำแนะนำของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้งานและตามความเหมาะสมของสภาพผิวอาคาร เช่น ควรทาสีกันซึมดาดฟ้าที่มีความหนาเพียงพอเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
เตรียมพื้นผิว:
ก่อนการทาสีกันซึมดาดฟ้าต้องทำความสะอาดผิวอาคารให้สะอาด โดยใช้เครื่องพ่นน้ำแรงดันสูงหรือแบบมือหรือใช้ไม้ขัดเพื่อเก็บเอาสิ่งสกปรกออกจากผิวอาคาร
ตรวจสอบสภาพผิวอาคาร:
ตรวจสอบพื้นผิวของดาดฟ้าอาคาร หากพื้นผิวมีแอ่งหรือพื้นที่ ที่ทำให้น้ำขัง ควรทำการปรับพื้นผิวดาดฟ้าให้เรียบก่อน และ ทำสโลปเพื่อให้น้ำไหลลง Floor Drain สะดวก
งานของเราแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร
- ประเมินหน้างานฟรี
- มีการรับประกันผลงาน
- ออกแบบ Solution ที่เหมาะสมกับลูกค้า เพื่อการแก้ปัญหาในระยะยาว เช่น การปรับพื้นไม่ให้ผิวเป็นแอ่งน้ำขัง การทำสโลป (Slope) พื้นให้น้ำไหลลง Floor drain ได้สะดวก
- มีการวางตาข่ายไฟเบอร์เมซ (Fiber Mesh) ทุกครั้ง เต็มพื้นที่ที่จะทำกันซึม